ชาวจีนมีความเชื่อกันว่าผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโต จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล จึงได้มีการสืบทอดการแสดงมากว่าพันปี ในสมัยก่อน การเชิดสิงโตที่นิยมแสดง มี 2 ประเภท ได้แก่ การเชิดสิงโตแบบโบราณ คือ การแสดงกายกรรมต่อตัว และ การเชิดสิงโตแบบปีนกระบอกไม้ไผ่ ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกหนึ่งประเภท ได้แก่ การเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบเอเชีย อาทิ จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย
ปัจจุบันการเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยนี้ได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่ง และได้รับการจัดไว้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์อีกด้วย การแข่งขันกีฬาเชิดสิงโตในประเทศไทย ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาแห่งชาติครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ. 2549 ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 35 “สุพรรณบุรีเกมส์” ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
โดยกีฬาชนิดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมวูซูแห่งประเทศไทย เป็นกีฬาประเภททีม ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชิดหัวสิงโต 1 คน ผู้เชิดหางสิงโต 1 คน และผู้เล่นวงมโหรีประกอบการเชิดอีก 6 คน ระยะเวลาในการแข่งขันไม่ต่ำกว่า 10 นาที และ ไม่เกิน 15 นาที อุปกรณ์ที่ใช้เป็นเสาดอกเหมย ความยาวไม่ต่ำกว่า 10 เมตร และ ไม่เกิน 20 เมตร ความสูงไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตร และไม่เกิน 2 เมตร ส่วนการตัดสินใช้หลักกติกาสากลทั่วไป
คลิบวีดีโอการแข่งขันเชิดสิงโตบนเสาดอกเหมยรอบชิงชนะเลิศ เมื่อคืนวันที่ 22 ก.พ.2553 ในงานราชบุรีไชน่าทาวน์ 2010
ทีมศิษย์หลวงพ่อเชียงแสน
ทีมศิษย์ลูกหลวงพ่อแพร
ศิษย์เจ้าแม่กวนอิม
ศิษย์เจ้าพ่อกวนอู
หลวงพ่อโอภาษี
ลูกหลวงปู่เจ๊ก